วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เล่าเรื่องลูกสำรอง
ดิฉันได้เห็นชื่อของ "ลูกสำรอง" ครั้งแรก มาจากหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คเกี่ยวกับสุขภาพและสมุนไพรยอดฮิตเล่มหนึ่ง พอได้อ่านคุณประโยชน์ของพืชชนิดนี้ ก็เกิดความสนใจเป็นอย่างมาก แต่ตอนนั้นยังนึกไม่ออกเลยจริงๆว่า ลูกสำรองนี่ ลูกเป็นยังไง ต้นเป็นยังไง แล้วก็จะไปหาซื้อได้จากที่ไหน
ซึ่งแหล่งซื้อหาสมุนไพรไทยและจีนในเขตกรุงเทพฯ เท่าที่พอจะนึกออกได้ในลำดับต้นๆ นั่นก็คือ ย่านเยาวราช ตลาดเก่า จักรวรรดิ... ก็เลยไปเดินๆหาดูค่ะ
วันแรกที่เจอลูกสำรองวางขาย มีใส่แค่ในถุงพลาสติก ถุงปุ๋ย ถุงกระสอบม้วนปากเล็กๆ วางอยู่ตามหน้าร้านบ้าง วางอยู่ตามริมทางเดินบ้าง ดูไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไหร่นัก ราคาตอนนั้น กิโลกรัมละไม่กี่สิบบาท ถามคนขายบางคนยังอธิบายไม่ได้ด้วยซ้ำว่า เอาไปทำยังไงถึงจะกินได้ บอกมาเพียงแค่เอาไปแช่น้ำแล้วกินแก้กระหายได้แค่นั้นเอง
แต่ช่างเถอะ ในใจดิฉันมีเรื่องที่ตั้งใจไว้ยิ่งใหญ่กว่านั้นมากมายนัก แค่หาลูกสำรองนี้ได้ก็ถือว่าสำเร็จไปครึ่งนึงแล้วล่ะ ^^
หลังจากที่ได้ลูกสำรองมาแล้ว.... ปัญหาคือ ทำกินไม่เป็นค่ะ เรียกว่า เริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลยจริงๆ วิธีที่เห็นๆมา ก็เป็นหลักการคร่าวๆ คือ เอาไปแช่น้ำ แล้วเอาไปต้ม ใส่น้ำตาล แช่เย็นไว้กิน แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ ไม่เคยรู้ ไม่รู้จัก บทจะยากนี่ก็นึกไม่ออกเลยนะคะว่า ต้องเริ่มยังไงก่อน ...
เรามารู้จักลูกสำรองไปด้วยกันค่ะ ^^
- ลูกสำรอง ที่นำมาทำกินนี้ เป็นลูกสำรองแห้งค่ะ เปลือกแห้งบาง มีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มจัดๆ จนเกือบจะเป็นสีน้ำตาลไหม้เลยก็มีค่ะ ขนาดมีตั้งแต่ปลายก้อยไปจนถึงนิ้วหัวแม่มือใหญ่ๆเลยก็มีนะคะ บางร้านจะขายแบบคัดขนาด บางร้านจะขายแบบคละขนาด ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้ก็จะมีราคาต่างกันค่ะ
- เท่าที่ได้สัมผัสคลุกคลีกับลูกสำรองมา สังเกตุว่าขนาดของลูกสำรองนั้นมีผลต่อเนื้อสำรอง น้อยกว่า คุณภาพของลูกสำรองนะคะ บางพันธุ์ บางรุ่น บางช่วงที่นำผลลูกสำรองมาขาย บางครั้งลูกสำรองแห้งที่มีขนาดเล็ก แต่มีเนื้อสวย ฟูนุ่ม ให้ปริมาณเนื้อมากกว่าลูกสำรองแห้งที่มีขนาดใหญ่ หรือบางครั้งลูกสำรองแห้งที่มีรูปทรงไม่สวย กลับมีเนื้อมาก ฟูนุ่ม มากกว่าลูกสำรองแห้งที่มีรูปทรงสวยงามซะอีกค่ะ
- ลูกสำรองแห้ง แบบที่แตกๆ เป็นเศษ หรือลูกที่ไม่สวยสมบูรณ์เต็มลูก อย่าทิ้งนะคะ ยังใช้ได้ค่ะ นำมาทำกินได้ ซึ่งเวลาทำในขั้นตอนที่ต้องเก็บเปลือก และแยกเส้นใยแข็งๆทิ้ง อาจจะยุ่งยากสักหน่อย แต่ถ้าคนที่มีความชำนาญ ก็ทำได้ไม่ยากค่ะ
- กลิ่น ลูกสำรองแห้งมีกลิ่นค่ะ เป็นกลิ่นเฉพาะตัวของลูกสำรองแห้งเอง ลูกสำรองแห้งปกติจะมีกลิ่นแบบสาบแห้งนิดๆ และมีกลิ่นคล้ายสมุนไพรหน่อยนึง คือ เรื่องกลิ่นสำหรับคนที่กินง่าย อาจจะรู้สึกว่านี่คือไม่มีกลิ่นอะไรเลย แต่สำหรับคนที่อ่อนไหวต่อกลิ่น อาจจะรู้สึกว่าแค่นี้ก็ถือเป็นกลิ่นที่ทำให้กินยากขึ้นมาแล้วก็ได้ค่ะ และสำหรับลูกสำรองแห้งปกติที่จัดว่ามีกลิ่นนั้น คือมีกลิ่นมากขึ้นจากเดิมมาหน่อยคือ จะมีกลิ่นสาบแห้งชัดขึ้นมา รวมทั้งกลิ่นความเป็นสมุนไพรก็ชัดขึ้นกว่าแบบที่จัดว่าไม่มีกลิ่นเลยนั่นล่ะค่ะ
- เนื้อลูกสำรองแห้ง ใช้เป็นส่วนประกอบวัตถุดิบสำหรับทำอาหารคาว ทำอาหารหวาน เบเกอรี่ เครื่องดื่มได้ค่ะ เลือกใส่มากหรือน้อยได้ตามเหมาะสม ดัดแปลงได้หลายเมนูค่ะ แต่ด้วยสรรพคุณแบบยาเย็น คือกินเพื่อดับกระหาย คลายร้อน จึงนิยมนำมาต้มกินร่วมกับน้ำสมุนไพร แล้วแช่เย็นไว้ดื่มจะเหมาะกว่าค่ะ
- สมุนไพรที่นิยมนำมาต้มเป็นเครื่องดื่มผสมกับเนื้อสำรอง เช่น ใบเตย เก๊กฮวย มะตูม กระเจี๊ยบ ฯลฯ ส่วนรสหวานในเครื่องดื่ม บางคนก็นิยมใส่น้ำหญ้าหวานให้ความหวานแทนน้ำตาล หรืออาจจะเลือกใช้น้ำตาลกรวดให้ความหวานก็ได้ ซึ่งรสชาติที่แนะนำคือ แค่หวานปะแล่มๆ พอติดปลายลิ้น ไม่ใช่หวานจัด หวานมาก หวานนำ หวานเป็นน้ำเชื่อม แบบนี้ควรหลีกเลี่ยงค่ะ เพราะไม่เป็นผลดีต่อคนที่ดื่มมากๆ หรือต้องควบคุมน้ำตาลค่ะ
- วิธีเก็บรักษาลูกสำรองแห้ง ห้ามนำลูกสำรองแห้งไปแช่เย็นค่ะ ให้เก็บไว้ในที่แห้ง โปร่ง ห้ามโดนน้ำ ห้ามมีความชื้น ซึ่งตามปกติแล้ว ลูกสำรองแห้ง 1 กิโลกรัม ก็สามารถเก็บไว้กินได้เป็นเดือน ดังนั้นสำหรับครัวเรือน ไม่แนะนำให้ซื้อมาเก็บตุนไว้ค่ะ แต่ถ้าต้องการนำมาทำขาย แล้วต้องเก็บตุนไว้ปริมาณมาก ต้องเก็บไว้นาน ก็อาจจะมีมอดขึ้นได้ แนะนำให้นำออกมาผึ่งแดดผึ่งลมบ้าง และถ้าลูกไหนมีมอด ให้คัดแยกออกทันที ป้องกันการลุกลามไปลูกอื่นๆค่ะ
หลังจากที่ได้รู้จักลูกสำรองมาสักระยะหนึ่งแล้ว ดิฉันจะพาไปรู้จักกับต้นสำรองกันสักนิดนึงนะคะ
ในช่วงเวลาที่ลูกสำรองได้เป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยมของคนรักสุขภาพกันมากมายยิ่งขึ้น หลายๆ คนถามไถ่กันมาว่า ลูกสำรองนี้มีต้นเป็นแบบไหนกันนะ ซึ่งโดยส่วนตัวของดิฉันเองนั้น บอกตามตรงว่า ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันค่ะ แต่เท่าที่สืบค้นข้อมูล และจากที่มีลูกค้าที่เคยรู้จักลูกสำรองและต้นสำรองอยู่แล้ว บอกเล่าให้ฟังว่า แถวๆ เมืองจันทบุรีนี่ล่ะ ที่มีต้นสำรองอยู่ในป่าอยู่จำนวนมาก
...ไหนๆ ก็ได้รู้จักกันแล้ว งั้นขอไปเที่ยวให้ถึงบ้านเกิดสักครั้งหนึ่งเลยละกันนะ
... เราออกเดินทางไปดูต้นสำรองด้วยกันค่ะ ... ^^
ต้นสำรอง เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นกลม ตรง สูงถึงสูงมาก (ก.ไก่ล้านตัวกันเลยทีเดียวค่ะ) คล้ายๆ กับต้นยางนา กระจายตัวอยู่มากบริเวณบนป่าเขา และพื้นที่ที่เป็นเนินเขา พี่สาวใจดีที่เป็นเจ้าของพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงกันนั้นเล่าให้ฟังว่า เห็นมีอยู่มานานตั้งแต่สมัยเค้ายังเป็นเด็กๆ เรียกว่าเป็นป่าต้นสำรองเลย ปัจจุบันก็ยังมีเยอะอยู่ แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นต้นจริงๆ เพราะต้องขึ้นเขาเข้าป่ามาดู ว่าแล้ว ก็พาเข้าไปดูใกล้ๆ... ซึ่งดิฉันอยากจะบอกว่า ดูไกลๆ น่ะดีแล้วค่ะ เพราะต้นมันสูงมาก เวลาเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ ต้องแหงนคอตั้งบ่ามองกันจนเมื่อยเลยล่ะค่ะ ^^
>> ประโยชน์ของลูกสำรอง #ของขวัญจากธรรมชาติ >>
ซึ่งแหล่งซื้อหาสมุนไพรไทยและจีนในเขตกรุงเทพฯ เท่าที่พอจะนึกออกได้ในลำดับต้นๆ นั่นก็คือ ย่านเยาวราช ตลาดเก่า จักรวรรดิ... ก็เลยไปเดินๆหาดูค่ะ
วันแรกที่เจอลูกสำรองวางขาย มีใส่แค่ในถุงพลาสติก ถุงปุ๋ย ถุงกระสอบม้วนปากเล็กๆ วางอยู่ตามหน้าร้านบ้าง วางอยู่ตามริมทางเดินบ้าง ดูไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไหร่นัก ราคาตอนนั้น กิโลกรัมละไม่กี่สิบบาท ถามคนขายบางคนยังอธิบายไม่ได้ด้วยซ้ำว่า เอาไปทำยังไงถึงจะกินได้ บอกมาเพียงแค่เอาไปแช่น้ำแล้วกินแก้กระหายได้แค่นั้นเอง
แต่ช่างเถอะ ในใจดิฉันมีเรื่องที่ตั้งใจไว้ยิ่งใหญ่กว่านั้นมากมายนัก แค่หาลูกสำรองนี้ได้ก็ถือว่าสำเร็จไปครึ่งนึงแล้วล่ะ ^^
หลังจากที่ได้ลูกสำรองมาแล้ว.... ปัญหาคือ ทำกินไม่เป็นค่ะ เรียกว่า เริ่มต้นจากไม่รู้อะไรเลยจริงๆ วิธีที่เห็นๆมา ก็เป็นหลักการคร่าวๆ คือ เอาไปแช่น้ำ แล้วเอาไปต้ม ใส่น้ำตาล แช่เย็นไว้กิน แต่สำหรับคนที่ไม่รู้ ไม่เคยรู้ ไม่รู้จัก บทจะยากนี่ก็นึกไม่ออกเลยนะคะว่า ต้องเริ่มยังไงก่อน ...
เรามารู้จักลูกสำรองไปด้วยกันค่ะ ^^
- ลูกสำรอง ที่นำมาทำกินนี้ เป็นลูกสำรองแห้งค่ะ เปลือกแห้งบาง มีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มจัดๆ จนเกือบจะเป็นสีน้ำตาลไหม้เลยก็มีค่ะ ขนาดมีตั้งแต่ปลายก้อยไปจนถึงนิ้วหัวแม่มือใหญ่ๆเลยก็มีนะคะ บางร้านจะขายแบบคัดขนาด บางร้านจะขายแบบคละขนาด ซึ่งทั้งสองลักษณะนี้ก็จะมีราคาต่างกันค่ะ
- เท่าที่ได้สัมผัสคลุกคลีกับลูกสำรองมา สังเกตุว่าขนาดของลูกสำรองนั้นมีผลต่อเนื้อสำรอง น้อยกว่า คุณภาพของลูกสำรองนะคะ บางพันธุ์ บางรุ่น บางช่วงที่นำผลลูกสำรองมาขาย บางครั้งลูกสำรองแห้งที่มีขนาดเล็ก แต่มีเนื้อสวย ฟูนุ่ม ให้ปริมาณเนื้อมากกว่าลูกสำรองแห้งที่มีขนาดใหญ่ หรือบางครั้งลูกสำรองแห้งที่มีรูปทรงไม่สวย กลับมีเนื้อมาก ฟูนุ่ม มากกว่าลูกสำรองแห้งที่มีรูปทรงสวยงามซะอีกค่ะ
- ลูกสำรองแห้ง แบบที่แตกๆ เป็นเศษ หรือลูกที่ไม่สวยสมบูรณ์เต็มลูก อย่าทิ้งนะคะ ยังใช้ได้ค่ะ นำมาทำกินได้ ซึ่งเวลาทำในขั้นตอนที่ต้องเก็บเปลือก และแยกเส้นใยแข็งๆทิ้ง อาจจะยุ่งยากสักหน่อย แต่ถ้าคนที่มีความชำนาญ ก็ทำได้ไม่ยากค่ะ
- กลิ่น ลูกสำรองแห้งมีกลิ่นค่ะ เป็นกลิ่นเฉพาะตัวของลูกสำรองแห้งเอง ลูกสำรองแห้งปกติจะมีกลิ่นแบบสาบแห้งนิดๆ และมีกลิ่นคล้ายสมุนไพรหน่อยนึง คือ เรื่องกลิ่นสำหรับคนที่กินง่าย อาจจะรู้สึกว่านี่คือไม่มีกลิ่นอะไรเลย แต่สำหรับคนที่อ่อนไหวต่อกลิ่น อาจจะรู้สึกว่าแค่นี้ก็ถือเป็นกลิ่นที่ทำให้กินยากขึ้นมาแล้วก็ได้ค่ะ และสำหรับลูกสำรองแห้งปกติที่จัดว่ามีกลิ่นนั้น คือมีกลิ่นมากขึ้นจากเดิมมาหน่อยคือ จะมีกลิ่นสาบแห้งชัดขึ้นมา รวมทั้งกลิ่นความเป็นสมุนไพรก็ชัดขึ้นกว่าแบบที่จัดว่าไม่มีกลิ่นเลยนั่นล่ะค่ะ
- เนื้อลูกสำรองแห้ง ใช้เป็นส่วนประกอบวัตถุดิบสำหรับทำอาหารคาว ทำอาหารหวาน เบเกอรี่ เครื่องดื่มได้ค่ะ เลือกใส่มากหรือน้อยได้ตามเหมาะสม ดัดแปลงได้หลายเมนูค่ะ แต่ด้วยสรรพคุณแบบยาเย็น คือกินเพื่อดับกระหาย คลายร้อน จึงนิยมนำมาต้มกินร่วมกับน้ำสมุนไพร แล้วแช่เย็นไว้ดื่มจะเหมาะกว่าค่ะ
- สมุนไพรที่นิยมนำมาต้มเป็นเครื่องดื่มผสมกับเนื้อสำรอง เช่น ใบเตย เก๊กฮวย มะตูม กระเจี๊ยบ ฯลฯ ส่วนรสหวานในเครื่องดื่ม บางคนก็นิยมใส่น้ำหญ้าหวานให้ความหวานแทนน้ำตาล หรืออาจจะเลือกใช้น้ำตาลกรวดให้ความหวานก็ได้ ซึ่งรสชาติที่แนะนำคือ แค่หวานปะแล่มๆ พอติดปลายลิ้น ไม่ใช่หวานจัด หวานมาก หวานนำ หวานเป็นน้ำเชื่อม แบบนี้ควรหลีกเลี่ยงค่ะ เพราะไม่เป็นผลดีต่อคนที่ดื่มมากๆ หรือต้องควบคุมน้ำตาลค่ะ
- วิธีเก็บรักษาลูกสำรองแห้ง ห้ามนำลูกสำรองแห้งไปแช่เย็นค่ะ ให้เก็บไว้ในที่แห้ง โปร่ง ห้ามโดนน้ำ ห้ามมีความชื้น ซึ่งตามปกติแล้ว ลูกสำรองแห้ง 1 กิโลกรัม ก็สามารถเก็บไว้กินได้เป็นเดือน ดังนั้นสำหรับครัวเรือน ไม่แนะนำให้ซื้อมาเก็บตุนไว้ค่ะ แต่ถ้าต้องการนำมาทำขาย แล้วต้องเก็บตุนไว้ปริมาณมาก ต้องเก็บไว้นาน ก็อาจจะมีมอดขึ้นได้ แนะนำให้นำออกมาผึ่งแดดผึ่งลมบ้าง และถ้าลูกไหนมีมอด ให้คัดแยกออกทันที ป้องกันการลุกลามไปลูกอื่นๆค่ะ
หลังจากที่ได้รู้จักลูกสำรองมาสักระยะหนึ่งแล้ว ดิฉันจะพาไปรู้จักกับต้นสำรองกันสักนิดนึงนะคะ
ในช่วงเวลาที่ลูกสำรองได้เป็นที่รู้จัก เป็นที่นิยมของคนรักสุขภาพกันมากมายยิ่งขึ้น หลายๆ คนถามไถ่กันมาว่า ลูกสำรองนี้มีต้นเป็นแบบไหนกันนะ ซึ่งโดยส่วนตัวของดิฉันเองนั้น บอกตามตรงว่า ตั้งแต่เกิดมาก็ไม่เคยเห็นเหมือนกันค่ะ แต่เท่าที่สืบค้นข้อมูล และจากที่มีลูกค้าที่เคยรู้จักลูกสำรองและต้นสำรองอยู่แล้ว บอกเล่าให้ฟังว่า แถวๆ เมืองจันทบุรีนี่ล่ะ ที่มีต้นสำรองอยู่ในป่าอยู่จำนวนมาก
...ไหนๆ ก็ได้รู้จักกันแล้ว งั้นขอไปเที่ยวให้ถึงบ้านเกิดสักครั้งหนึ่งเลยละกันนะ
... เราออกเดินทางไปดูต้นสำรองด้วยกันค่ะ ... ^^
ต้นสำรอง เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นกลม ตรง สูงถึงสูงมาก (ก.ไก่ล้านตัวกันเลยทีเดียวค่ะ) คล้ายๆ กับต้นยางนา กระจายตัวอยู่มากบริเวณบนป่าเขา และพื้นที่ที่เป็นเนินเขา พี่สาวใจดีที่เป็นเจ้าของพื้นที่ในบริเวณใกล้เคียงกันนั้นเล่าให้ฟังว่า เห็นมีอยู่มานานตั้งแต่สมัยเค้ายังเป็นเด็กๆ เรียกว่าเป็นป่าต้นสำรองเลย ปัจจุบันก็ยังมีเยอะอยู่ แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก ไม่เคยเห็นต้นจริงๆ เพราะต้องขึ้นเขาเข้าป่ามาดู ว่าแล้ว ก็พาเข้าไปดูใกล้ๆ... ซึ่งดิฉันอยากจะบอกว่า ดูไกลๆ น่ะดีแล้วค่ะ เพราะต้นมันสูงมาก เวลาเข้าไปยืนอยู่ใกล้ๆ ต้องแหงนคอตั้งบ่ามองกันจนเมื่อยเลยล่ะค่ะ ^^
>> ประโยชน์ของลูกสำรอง #ของขวัญจากธรรมชาติ >>
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)